งานเกษตรอีสานใต้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปี 2566 สิ้นสุดลงแล้ว
ขอขอบพระคุณทุกท่าน อาทิ ฝ่ายที่ปรึกษา/อำนวยการ ผู้จัดงาน ผู้สนับสนุน ร้านค้า ผู้เยี่ยมชม ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ทำให้งานนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ พบกันใหม่ปีหน้า (2567)

สุดยอด นิทรรศการเกษตรมีชีวิต ที่ใหญ่ที่สุดในอีสานใต้

   โคก หนอง นา สัตว์เศรษฐกิจ สัตว์เลี้ยงสวยงาม ทุ่งทานตะวัน สวนดอกไม้หลากสี อุโมงค์พืชผัก ระบบเพาะปลูกพืชไฮโดรโปนิค การผลิตมะเขือเทศในโรงเรือน นวัตกรรม ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ผลผลิตจากการเรียนการสอน การให้คำปรึกษาจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การแสดงสินค้าและการออกร้านจำหน่ายสินค้าของเกษตรกร บริษัทเอกชน เครื่องจักรกล อุปกรณ์ต่อพ่วง และเทคโนโลยีทางการเกษตร พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์เลี้ยง สินค้ากลุ่มชุมชนและเกษตรกร การเสวนาวิชาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การแสดงศิลปวัฒนธรรมนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และศิลปินมากมาย

ข่าวประชาสัมพันธ์


สดรายการ NBT รวมใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน ทาง NBT NORTHEAST วันที่ศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 10.00 - 11.00 น.
อยู่ดี มีเเฮง มาเบิ่ง มาเเยง เกษตรอีสานใต้ 66 ในรายการ NBT รวมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน GOOD LIFE BY UBU อยู่ดี มีแฮง ฮักแพง กับ ม.อุบลฯ
แขกรับเชิญ
ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ
ผศ.ดร.กาญจนา พยุหะ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ
ผู้ดำเนินรายการ
อ.วิชุดา สายสมุทร คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ
ออกอากาศ ผ่านช่องทีวีช่อง 11 NBT ทีวีอีสาน, เฟซบุ๊กแฟนเพจ NBT UBON

สะเก็ดข่าวช่อง 7 สี เกษตรอีสานใต้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปี 2566

กิจกรรมเวทีกลาง งานเกษตรอีสานใต้ (ภาคกลางคืน)

วันที่ เวลา กิจกรรม
ศุกร์ 10 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.00-19.00 น. กิจกรรมส่งเสริมของหน่วยงานต่างๆ และแจกรางวัล
19.00-21.00 น. การแสดงสโมสนนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์(การแสดงตลกและวงดนตรี)
เสาร์ 11 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.00-18.30 น. การแสดงของนักศึกษา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์
18.30-21.30 น. ประกวดร้องเพลงลูกทุ่งมุ่งสู่ฝัน อายุ ไม่เกิน ๑๕ ปี(แข่งขัดเลือก และชิงชนะเลิศในวันเดียวกัน)
อาทิตย์ 12 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.00-18.30 น. การแสดงของนักศึกษา จากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยฯ
18.30-21.30 น. ประกวดร้องเพลงลูกทุ่งมุ่งสู่ฝัน อายุตั้งแต่ 15-22 ปี กลุ่มที่ 1
จันทร์ 13 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.00-19.30 น. การแสดงของนักศึกษา จากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยฯ
19.30-21.30 น. ประกวดร้องเพลงลูกทุ่งมุ่งสู่ฝัน อายุตั้งแต่ 15-22 ปี กลุ่มที่ 2
อังคาร 14 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.00-20.30 น. การแสดงของนักศึกษา จากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยฯ
20.30-22.00 น. ประกวดวงดนตรี AG Music Award รอบคัดเลือก กลุ่มที่ 1
พุธ 15 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.00-18.30 น. การแสดงของนักศึกษา จากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยฯ
18.30-21.30 น. ประกวดวงดนตรี AG Music Award รอบคัดเลือก กลุ่มที่ 2
พฤหัสบดี 16 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.00-18.30 น. การแสดงของวงดนตรี นักศึกษาเอกดนตรี คณะศิลปศาสตร์ (วงฟื้นใจเมือง)
18.30-22.00 น. การแสดงโดยศิลปินรับเชิญ
ศุกร์ 17 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.30-19.00 น. การแสดงของวงดนตรี นักศึกษาสโสมรนักศึกษา วิทยาลัยแพทย์และการสาธารณสุข
19.00-22.00 น. การแสดงหมอลำซิ่ง อภิรักษ์ อินธิวงศ์ และ แสงนภา สำเภาแก้ว
เสาร์ 18 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.00-18.30 น. การแสดงของวงดนตรี นักศึกษาสโสมรนักศึกษาศิลปศาสตร
18.30-22.00 น. การแสดงหมอล ากลอนประยุกต์ ปริญญา ดาเหลา
อาทิตย์ 19 กุมภาพันธ์ 2566 16.30-18.00 น. เปิดกิจกรรมเวที และทักทายผู้ชม
18.00-18.10 น. การแสดงเต้น cover dance โดยวง J-bitch (เจบิช)
18.15-19.15 น. ประกวดร้องเพลงลูกทุ่งมุ่งสู่ฝัน อายุตั้งแต่ 15-22 ปี รอบชิงชนะเลิศ
19.30-22.00 น. ประกวดวงดนตรี AG Music Award รอบชิงชนะเลิศ

กิจกรรมฝ่ายแข่งขันทักษะเกษตร

วันประกวด กิจรรม ประเภท เงื่อนไข สถานที่ ผู้รับผิดชอบ ติดต่อ: โทร.
ศ. 10 ก.พ. 66 ประกวดสาวไหม บุคคลทั่วไป ประถมศึกษา มัธยมศึกษา - อุทยานวิชาการของกรมหม่อนไหม ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล 0815300591
ส 11 ก.พ. 66 ประกวดไก่พื้นเมือง
สมัครออนไลน์
1. ไก่เหลืองหางขาวเพศผู้ น้ำหนัก 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป
2. ไก่พื้นเมืองคละสีเพศผู้ น้ำหนัก 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป
ประเภทละไม่ต่ำกว่า 5 ตัว อุทยานวิชาการ ภาควิชาสัตวศาสตร์ ดร.ชวลิต ศิริบูรณ์ 0951698391
อา. 12 ก.พ. 66 ประกวดมะเขือเทศอินทรีย์
สมัครออนไลน์
เกษตรกรโครงการ เกษตรกรโครงการผู้ปลูกมะเขือเทศอินทรีย์เท่านั้น อุทยานวิชาการภาควิชาพืชสวน ผศ.ดร.ทินน์ พรหมโชติ 0982605255
พ. 13 ก.พ. 66 ประกวดพูดส่งเสริมการเกษตร
สมัครออนไลน์
หนังสือเชิญ
1. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ห้องประชุมวรพงษ์ ตึกคณะเกษตรศาสตร์ คุณนพมาศ นามแดง 0910195114
อ. 14 ก.พ. 66 ประกวดผลผลิตทางการเกษตร
สมัครออนไลน์
1. พริกขี้หนูผลใหญ่
2. กล้วยน้ำว้า
3. มะพร้าวน้ำหอม
4. มะละกอฮอลแลนด์
เกษตรกร/บุคคลทั่วไป ห้องประชุมวรพงษ์ ตึกคณะเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.ทินน์ พรหมโชติ 0982605255
ส. 18 ก.พ. 66 การสมัคร การประกวดแข่งขัน "พาข้าวเมืองอุบล มีปลาแซบหลาย" ครั้งที่ 1
หลักเกณฑ์การแข่งขัน
สมัครออนไลน์
- - คณะเกษตรศาสตร์ ดร.จรุงจิต กรุดพันธ์ 0819249340

เสวนาวิชาการ ศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาเกษตรที่ยั่งยืน

ประชาสัมพันธ์ ประกวด แข่งขัน และกิจกรรมเวทีกลาง

โคก หนอง นา โมเดล

โคก หนอง นา โมเดล คืออะไร
   โคก หนอง นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้น ๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ ซึ่งโคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน
โคก หนอง นา แห่งความฮัก : [โคกหนองนา พช.ศรีสะเกษ]

“โคก หนอง นา แห่งความฮัก”
    ผลสำเร็จของการทำโคกหนองนาของพ่อเปี๊ยกและแม่เพ็ญ ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.ศรีสะเกษ” (แปลง นายทองเลื่อน อินทา บ้านหนองคูใต้ หมู่ที่ 12 ตำบลเป๊าะ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ)
   ล้วนเกิดจากความรักชองคนในครอบครัว โดยได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และทำการเกษตรตามหลักทฤษฎีใหม่ การตั้งใจและลงมือทำอย่างแน่วแน่ แม้จะเคยเป็นมนุษย์เงินเดือนมากว่า 30 ปี ความงดงามของการทำงานหนักได้แตกหน่อออกผล มีกิน มีใช้ มีรายได้ มีแบ่งปัน เกิดเป็นความสุขที่ยั่งยืนต่อไป
1. โคก: พื้นที่สูง ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ / ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย / ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
2. หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก) / ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้ / ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง / พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
3. นา: พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็ก ๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน / ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา
ข้อมูลและแหล่งที่มา : กรมการพัฒนาชุมชน www.cdd.go.th / สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ www.nesdc.go.th
โคกหนองนาโมเดลเมืองอุบลราชธานี (Khok Nong Na Ubonratchathani) Farm Station
โดย ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ข่าวเด่น

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 น. นายศุภกิตติ์ ใสกระจ่าง ประมงจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดงานการแข่งขันพาข้าวเมืองอุบลฯ มีปลาแซ่บหลาย ครั้งที่ 1 ณ งานนิทรรศการเกษตรอีสานใต้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งในการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ประเภทบุคคลทั่วไป 2. ประเภทนักเรียนและนักศึกษา ชิงเงินรางวัลรวม 9,800 บาท พร้อมด้วยใบประกาศนียบัตร วัตถุดิบที่กำหนด ปลาดุกและปลาช่อนชนิดละ 1.5 กิโลกรัมสำหรับการทำอาหารจานหลักทั้ง 2 รายการ ในการสมัครแข่งขันครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปและนักเรียนนักศึกษาเป็นจำนวนมาก

ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ท่านสีใส ทองปัดสา หัวหน้าห้องว่าการเมืองปากซอง ท่านทะนงสัก อินทิสาน หัวหน้าห้องการอุตสาหกรรมและการค้าเมืองปากซอง ท่านคำฮู้ มุกดารา หัวหน้าห้องการกสิกรรมและป่าไม้เมืองปากซอง นักวิชาการเกษตร ปศุสัตว์และประมง สมาชิกสหกรณ์การเกษตร ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร เมืองปากซอง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ในโอกาสเดินทางมาประชุมเพื่อหารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่างเมืองปากซองซึ่งเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของแขวงจำปาสักและคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และการเที่ยวชมงานเกษตรอีสานใต้ประจำปี พ.ศ. 2566, 15 ก.พ.2566

Supporter